วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2559

เดินหน้าต่อหรือไม่ นโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว

เดินหน้าต่อหรือไม่ นโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว




      ขอเท้าความถึงบทความตอนที่แล้วที่กล่าวว่า "ถึงแม้ว่าสภาพดินและน้ำจะไม่เอื้อเท่าที่ควรก็ตาม โดยเฉพาะต้นไม้ แต่ว่าหากทางมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญและจริงจังกับเรื่องนี้ก็ควรจะผลักดันอย่างเต็มที่"

      ทำให้เกิดคำถามที่ว่า
Q:สรุปแล้วนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว จะเดินหน้าต่อหรือไม่?
A:มีการเดินหน้าต่อไปอย่างแน่นอน ถึงแม้ว่าที่ดินตรงนี้ไม่ใช่กรีนแต่ในอนาคตตรงนี้ต้องเป็นกรีน
เพราะผังแม่บท พ.ศ. 2555 - 2575 ได้กำหนดไว้
(แนบลิ้งค์ : http://www.pitc.su.ac.th/Master%20Plan.pdf)



      อีกทั้งนโยบายต่างๆ  จะมีการสานต่ออย่างแน่นอน เช่น นโยบายประหยัดพลังงาน นโยบายแยกขยะ นโยบายพลังงานแสงอาทิตย์ โซลาลูฟ เพื่อประหยัดค่าไฟ เพราะปัจจุบันนี้วิทยาเขตจ่ายค่าไฟถึงเดือนละสองล้านกว่าบาท  การปลูกต้นไม้บนอาคาร เป็นต้น

      โดยการดำเนินโครงการนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวได้รับแรงบัลดาลใจจากโครการพระราชดำริห้วยทราย ซึ่งก็ค่อยๆผลักดันจนปลูกป่าสำเร็จ และโครงการนี้ก็ใช้วิธีการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ



      แม้ว่าปัจจุบันนี้บุคลากรและนักศึกษาจะเป็นคนที่มีหัวในเรื่องเทคโนโลยีที่ทันสมัยสูงมากจึงทำให้ไม่ค่อยซึมซับเรื่องพวกนี้เท่าที่ควร 


      การจะเป็นกรีนแคมปัสได้ ต้องเริ่มจากการเป็นกรีนพีเพิลก่อน อาจารย์ดาวลอย ได้กล่าวทิ้งท้าย

-*หากมีการจัดสรรพื้นที่เป็นอย่างดี นักศึกษาก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือและปฏิบัติตตามโครงการมหาวิทยาลัยสีเขียวอย่างแน่นอน*- 


กลุ่ม GREEN CAMPUS
ปัญยภัสสร์ พรหมชัยวัฒนา 13570500
วิสุทธิภา เพียวริบุตร 13570575
ศรีสิทธิ์ วงศ์วรจรรย์ 13570580
อนาลา กุลรัตน์ 13570615

คำชี้แจงจากรองอธิการ มศก.ว.เพชรบุรี ต่อกรีนแคมปัส

คำชี้แจงจากรองอธิการ มศก.ว.เพชรบุรี ต่อกรีนแคมปัส



       เมื่อวันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม 2559 ที่ผ่านมา ผศ.ดร.ดาวลอย กาญจนมณีเสถียร รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี ได้ชี้แจงถึง การมีเสียงเรียกร้องต่อการเข้มงวดในการปรับใช้มาตรการนโยบายกรีนแคมปัส เป็นครั้งแรกว่า  จุดประสงค์ของการบีบบังคับไม่ให้นักศึกษานำจักรยานยนต์เข้ามาใช้ เพราะมีความเป็นห่วงสวัสดิภาพนักศึกษา ในอดีตมีนักศึกษาเสียชีวิตทุกปี ไม่ว่าจะมาจากการซ้อนท้ายเพื่อน ใช้ความเร็ว หรือขับโดยประหม่าก็ตาม แต่ปัจจุบันไม่มีนักศึกษาเสียชีวิตมาสองปีแล้ว ผู้ปกครองเห็นด้วยกับนโยบายเสมอ แต่นักศึกษากลับคัดค้านมาโดยตลอด เรื่องแบบนี้อาจารย์ยอมอดทนโดนว่าดีกว่า เพราะชีวิตนักศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง

          นางดาวลอยได้ให้ความเห็นต่อโครงการกรีนแคมปัสอีก ว่า วิทยาเขตนี้ไม่ได้ตอบโจทย์เต็มรูปแบบ เพราะสถานภาพของดินและน้ำที่นี่นั้นเป็นไปได้ยากพอสมควรที่จะทำให้เป็นกรีนแคมปัส แต่หากทางมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้จริงจัง ก็ต้องผลักดันต่อไป 

กลุ่ม GREEN CAMPUS
ปัญยภัสสร์ พรหมชัยวัฒนา 13570500
วิสุทธิภา เพียวริบุตร 13570575
ศรีสิทธิ์ วงศ์วรจรรย์ 13570580
อนาลา กุลรัตน์ 13570615

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

เปิดใจพนักงานขับรถราง

เปิดใจพนักงานขับรถราง




จากเหตุการณ์การบังคับใช้มาตรการห้ามใช้จักรยานยนต์ในวิทยาเขต ทำให้นักศึกษาจำต้องปรับตัว เนื่องจากทางผู้ดูแลโครงการมหาวิทยาลัยสีเขียวไม่ออกมาชี้แจงหรือมีท่าทีใด ๆ ตอบโต้ต่อสิ่งที่เกิดขึ้น

ซึ่งจากการบังคับใช้มาตรการที่ไม่เป็นที่พอใจยิ่งนักของนักศึกษา ทำให้พวกเขาเหล่านี้ต้องใช้รถรางในการเดินทางในมหาวิทยาลัย จากที่เดิมทีทางรถรางเองก็ไม่ได้มีการขนส่งอย่างคล่องแคล่วอยู่เท่าใดนัก

ทางกลุ่มได้ไปสัมภาษณ์พี่เชาว์ หัวหน้าพนักงานขับรถราง 
พี่เชาว์ ได้ตอบหลายคำถามที่เป็นประเด็นเกิดขึ้น


รับชมตอนพิเศษ เปิดใจพนักงานขับรถราง

https://www.youtube.com/watch?v=PgfaRFBARYE&feature=youtu.be


เรื่องที่มีคนต่อว่าถึงการบริการที่ไม่ทั่วถึง หรือรถรางไม่เพียงพอ 
"คุณเข้าเรียนแปดโมง
คุณมาขึ้นรถแปดโมง
ให้เป็นนายกฯก็ไม่ทัน
คุณต้องมาก่อน"

อีกทั้งยังอธิบายเสริมว่า  บางคนผมถาม น้องเรียนกี่โมง...เจ็ดโมงครึ่ง มารถเที่ยวแรก  เนี่ยแถมยังพอมีเวลากินข้าวเช้าด้วยซ้ำ คนแบบนี้เป็นเด็กที่ดีมาก

ในเมื่อเขาขอความร่วมมือ แล้วหลีกเลี่ยงไม่ได้ หน้าที่คุณคือปรับตัว ไม่ใช่ว่าทางผู้บริการต้องปรับตัวเข้าหาคุณร้อยเปอร์เซ็นต์
ผมช่วยคุณ คุณก็ช่วยผม เรามาคนละครึ่งทาง อย่างน้อยเหตุการณ์มันก็ไม่แย่ไปมากกว่านี้

อย่างช่วงสอบ แต่ละวันนักศึกษาจะเยอะมากเพราะสอบทุกคน คนขับบางคนก็เพิ่มรอบให้เอง แต่ปรากฎว่าผู้ใหญ่มาต่อว่า เช่นว่า เปลืองแก๊ส เป็นต้น  จริง ๆ  เราต้องวิ่งตามที่มหาวิทยาลัยสั่งมา ถ้าเขามีคำสั่งให้เสริมเราก็วิ่งเสริมให้

มีคนขับรุ่นน้องคนนึงเคยออกรอบเสริมเอง ผมก็เตือนว่าอย่าออก เดี๋ยวทางมหาวิทยาลัยจะต่อว่าได้อีก

จริง ๆ ที่ทางมหาวิทยาลัยประกาศมาตรการเช่นนี้ถือเป็นข้อดี
ในตอนแรกคือไม่ให้ใช้จักรยานยนต์เลย แต่ภายหลังปรับเปลี่ยนให้มีการใช้ก่อนและหลังเวลาเรียนได้ เพียงแต่เวลาเรียนไม่อนุญาติให้ใช้สัญจรในวิทยาเขต เพราะมีผู้คนเป็นจำนวนมาก

การที่ไม่ให้ใช้มอเตอร์ไซค์นั้นก็เป็นเรื่องที่ดีมาก
เพราะรถรางก็ใหญ่ เสี่ยงต่อการชนนักศึกษา เป็นอันตรายมานับหลายครั้ง

-------------------------------------




กลุ่ม GREEN CAMPUS
ปัญยภัสสร์ พรหมชัยวัฒนา 13570500
วิสุทธิภา เพียวริบุตร 13570575
ศรีสิทธิ์ วงศ์วรจรรย์ 13570580
อนาลา กุลรัตน์ 13570615

เสียงนักศึกษายังจำเป็นอยู่หรือไม่?

เสียงนักศึกษายังจำเป็นอยู่หรือไม่?




นักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ได้มีการออกมาคัดค้านต่อมาตรการ ห้ามไม่ให้ใช้จักรยานยนต์ในวิทยาเขต เพื่อเป็นการรณรงค์มหาวิทยาลัยสีเขียวตามจุดประสงค์ของผู้ดูแลโครงการ



มาตรการห้ามนักศึกษาใช้จักรยานยนต์ในวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี เป็นที่พูดถึงอย่างกว้างขวางในแวดวงนักศึกษา ในช่วงภาคเรียนที่ 2 นี้

นโยบายนี้เริ่มบังคับใช้เมื่อวันที่ 11 มการาคม 2559 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันแรกของการเปิดภาคเรียนที่ 2

โดยมาตรการนี้มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและเป็นการลดมลพิษในอากาศ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว

มีนักศึกษาจำนวนมากออกมาร้องเรียน ตั้งประเด็นโต้เถียง โจมตี ต่อว่า อย่างหนักหน่วง รวมไปถึงการทำภาพล้อเลียนเสียดสี ต่อมาตรการนี้
(โดยสามารถ search บน facebook แล้วติดแฮชแทก #greencampus เพื่อเข้าไปดูเสียงร้องเรียนได้ )







ทำให้นักศึกษาจำนวนมาก ทั้งผู้ที่อาศัยอยู่หอในและทั้งผู้ที่อาศัยอยู่หอนอก ต้องนำจักรยานยนต์มาจอด ณ บริเวณที่เตรียมไว้ให้จอด แล้วจากนั้นไปขึ้นรถราง เพื่อไปเข้าเรียน
ซึ่งนักศึกษาต้องเผชิญกับสภาพแออัดของคนและประสบกับปัญหาจำนนวนรถรางที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการต่อการบริการและปริมาณนักศึกษา

สิ่งที่น่าสงสัยถึงมาตรฐานของมาตรการนี้คือ ในเมื่อไม่ให้นักศึกษาใช้รถยนต์ และจักรยานยนต์ในวิทยาเขต แต่ทำไมบุคลากรยังคงใช้พาหนะเหล่านี้ได้ ซึ่งดูเป็นความเหลื่อมล้ำ แสดงถึงความไม่เท่าเทียมกัน หากจะไม่ให้นักศึกษาใช้ ทำไมจึงไม่ให้บุคลากรใช้ด้วย

การอออกมาตั้งคำถาม เสียงส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า ไม่ได้ต้องการยอกย้อน เพียงแต่อยากให้พิจารณาถึงความเหมาะสม ความเข้ากันได้ของโครงการมหาวิทยาลัยสีเขียว อยากให้พึงตระหนักว่าตัวโครงการนั้นสอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศและสภาพพื้นที่หรือไม่

เพราะไม่เพียงแต่บุคลากรที่จะอ้างว่าหากไม่ให้ใช้พาหนะในการเดินทางเข้าวิทยาเขต จะส่งผลต่อความลำบากในการทำงาน นักศึกษาเองก็ลำบากในการเดินทางเข้ามาเรียนหรือขนของเวลาทำกิจกรรมเช่นกัน



#เอาใจเขามาใส่ใจเรา #สองมาตรฐาน #ความเหลื่อมล้ำ #ความเท่าเทียม #ช่องโหว่ #ความเป็นไปได้

[ปล. ขอขอบคุณความเห็นจากนักศึกษา รวมถึงภาพบางส่วนจาก https://medium.com/@cloetidloa/ ]

กลุ่ม GREEN CAMPUS
ปัญยภัสสร์ พรหมชัยวัฒนา 13570500
วิสุทธิภา เพียวริบุตร 13570575
ศรีสิทธิ์ วงศ์วรจรรย์ 13570580
อนาลา กุลรัตน์ 13570615