วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2559

เดินหน้าต่อหรือไม่ นโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว

เดินหน้าต่อหรือไม่ นโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว




      ขอเท้าความถึงบทความตอนที่แล้วที่กล่าวว่า "ถึงแม้ว่าสภาพดินและน้ำจะไม่เอื้อเท่าที่ควรก็ตาม โดยเฉพาะต้นไม้ แต่ว่าหากทางมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญและจริงจังกับเรื่องนี้ก็ควรจะผลักดันอย่างเต็มที่"

      ทำให้เกิดคำถามที่ว่า
Q:สรุปแล้วนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว จะเดินหน้าต่อหรือไม่?
A:มีการเดินหน้าต่อไปอย่างแน่นอน ถึงแม้ว่าที่ดินตรงนี้ไม่ใช่กรีนแต่ในอนาคตตรงนี้ต้องเป็นกรีน
เพราะผังแม่บท พ.ศ. 2555 - 2575 ได้กำหนดไว้
(แนบลิ้งค์ : http://www.pitc.su.ac.th/Master%20Plan.pdf)



      อีกทั้งนโยบายต่างๆ  จะมีการสานต่ออย่างแน่นอน เช่น นโยบายประหยัดพลังงาน นโยบายแยกขยะ นโยบายพลังงานแสงอาทิตย์ โซลาลูฟ เพื่อประหยัดค่าไฟ เพราะปัจจุบันนี้วิทยาเขตจ่ายค่าไฟถึงเดือนละสองล้านกว่าบาท  การปลูกต้นไม้บนอาคาร เป็นต้น

      โดยการดำเนินโครงการนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวได้รับแรงบัลดาลใจจากโครการพระราชดำริห้วยทราย ซึ่งก็ค่อยๆผลักดันจนปลูกป่าสำเร็จ และโครงการนี้ก็ใช้วิธีการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ



      แม้ว่าปัจจุบันนี้บุคลากรและนักศึกษาจะเป็นคนที่มีหัวในเรื่องเทคโนโลยีที่ทันสมัยสูงมากจึงทำให้ไม่ค่อยซึมซับเรื่องพวกนี้เท่าที่ควร 


      การจะเป็นกรีนแคมปัสได้ ต้องเริ่มจากการเป็นกรีนพีเพิลก่อน อาจารย์ดาวลอย ได้กล่าวทิ้งท้าย

-*หากมีการจัดสรรพื้นที่เป็นอย่างดี นักศึกษาก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือและปฏิบัติตตามโครงการมหาวิทยาลัยสีเขียวอย่างแน่นอน*- 


กลุ่ม GREEN CAMPUS
ปัญยภัสสร์ พรหมชัยวัฒนา 13570500
วิสุทธิภา เพียวริบุตร 13570575
ศรีสิทธิ์ วงศ์วรจรรย์ 13570580
อนาลา กุลรัตน์ 13570615

คำชี้แจงจากรองอธิการ มศก.ว.เพชรบุรี ต่อกรีนแคมปัส

คำชี้แจงจากรองอธิการ มศก.ว.เพชรบุรี ต่อกรีนแคมปัส



       เมื่อวันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม 2559 ที่ผ่านมา ผศ.ดร.ดาวลอย กาญจนมณีเสถียร รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี ได้ชี้แจงถึง การมีเสียงเรียกร้องต่อการเข้มงวดในการปรับใช้มาตรการนโยบายกรีนแคมปัส เป็นครั้งแรกว่า  จุดประสงค์ของการบีบบังคับไม่ให้นักศึกษานำจักรยานยนต์เข้ามาใช้ เพราะมีความเป็นห่วงสวัสดิภาพนักศึกษา ในอดีตมีนักศึกษาเสียชีวิตทุกปี ไม่ว่าจะมาจากการซ้อนท้ายเพื่อน ใช้ความเร็ว หรือขับโดยประหม่าก็ตาม แต่ปัจจุบันไม่มีนักศึกษาเสียชีวิตมาสองปีแล้ว ผู้ปกครองเห็นด้วยกับนโยบายเสมอ แต่นักศึกษากลับคัดค้านมาโดยตลอด เรื่องแบบนี้อาจารย์ยอมอดทนโดนว่าดีกว่า เพราะชีวิตนักศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง

          นางดาวลอยได้ให้ความเห็นต่อโครงการกรีนแคมปัสอีก ว่า วิทยาเขตนี้ไม่ได้ตอบโจทย์เต็มรูปแบบ เพราะสถานภาพของดินและน้ำที่นี่นั้นเป็นไปได้ยากพอสมควรที่จะทำให้เป็นกรีนแคมปัส แต่หากทางมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้จริงจัง ก็ต้องผลักดันต่อไป 

กลุ่ม GREEN CAMPUS
ปัญยภัสสร์ พรหมชัยวัฒนา 13570500
วิสุทธิภา เพียวริบุตร 13570575
ศรีสิทธิ์ วงศ์วรจรรย์ 13570580
อนาลา กุลรัตน์ 13570615

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

เปิดใจพนักงานขับรถราง

เปิดใจพนักงานขับรถราง




จากเหตุการณ์การบังคับใช้มาตรการห้ามใช้จักรยานยนต์ในวิทยาเขต ทำให้นักศึกษาจำต้องปรับตัว เนื่องจากทางผู้ดูแลโครงการมหาวิทยาลัยสีเขียวไม่ออกมาชี้แจงหรือมีท่าทีใด ๆ ตอบโต้ต่อสิ่งที่เกิดขึ้น

ซึ่งจากการบังคับใช้มาตรการที่ไม่เป็นที่พอใจยิ่งนักของนักศึกษา ทำให้พวกเขาเหล่านี้ต้องใช้รถรางในการเดินทางในมหาวิทยาลัย จากที่เดิมทีทางรถรางเองก็ไม่ได้มีการขนส่งอย่างคล่องแคล่วอยู่เท่าใดนัก

ทางกลุ่มได้ไปสัมภาษณ์พี่เชาว์ หัวหน้าพนักงานขับรถราง 
พี่เชาว์ ได้ตอบหลายคำถามที่เป็นประเด็นเกิดขึ้น


รับชมตอนพิเศษ เปิดใจพนักงานขับรถราง

https://www.youtube.com/watch?v=PgfaRFBARYE&feature=youtu.be


เรื่องที่มีคนต่อว่าถึงการบริการที่ไม่ทั่วถึง หรือรถรางไม่เพียงพอ 
"คุณเข้าเรียนแปดโมง
คุณมาขึ้นรถแปดโมง
ให้เป็นนายกฯก็ไม่ทัน
คุณต้องมาก่อน"

อีกทั้งยังอธิบายเสริมว่า  บางคนผมถาม น้องเรียนกี่โมง...เจ็ดโมงครึ่ง มารถเที่ยวแรก  เนี่ยแถมยังพอมีเวลากินข้าวเช้าด้วยซ้ำ คนแบบนี้เป็นเด็กที่ดีมาก

ในเมื่อเขาขอความร่วมมือ แล้วหลีกเลี่ยงไม่ได้ หน้าที่คุณคือปรับตัว ไม่ใช่ว่าทางผู้บริการต้องปรับตัวเข้าหาคุณร้อยเปอร์เซ็นต์
ผมช่วยคุณ คุณก็ช่วยผม เรามาคนละครึ่งทาง อย่างน้อยเหตุการณ์มันก็ไม่แย่ไปมากกว่านี้

อย่างช่วงสอบ แต่ละวันนักศึกษาจะเยอะมากเพราะสอบทุกคน คนขับบางคนก็เพิ่มรอบให้เอง แต่ปรากฎว่าผู้ใหญ่มาต่อว่า เช่นว่า เปลืองแก๊ส เป็นต้น  จริง ๆ  เราต้องวิ่งตามที่มหาวิทยาลัยสั่งมา ถ้าเขามีคำสั่งให้เสริมเราก็วิ่งเสริมให้

มีคนขับรุ่นน้องคนนึงเคยออกรอบเสริมเอง ผมก็เตือนว่าอย่าออก เดี๋ยวทางมหาวิทยาลัยจะต่อว่าได้อีก

จริง ๆ ที่ทางมหาวิทยาลัยประกาศมาตรการเช่นนี้ถือเป็นข้อดี
ในตอนแรกคือไม่ให้ใช้จักรยานยนต์เลย แต่ภายหลังปรับเปลี่ยนให้มีการใช้ก่อนและหลังเวลาเรียนได้ เพียงแต่เวลาเรียนไม่อนุญาติให้ใช้สัญจรในวิทยาเขต เพราะมีผู้คนเป็นจำนวนมาก

การที่ไม่ให้ใช้มอเตอร์ไซค์นั้นก็เป็นเรื่องที่ดีมาก
เพราะรถรางก็ใหญ่ เสี่ยงต่อการชนนักศึกษา เป็นอันตรายมานับหลายครั้ง

-------------------------------------




กลุ่ม GREEN CAMPUS
ปัญยภัสสร์ พรหมชัยวัฒนา 13570500
วิสุทธิภา เพียวริบุตร 13570575
ศรีสิทธิ์ วงศ์วรจรรย์ 13570580
อนาลา กุลรัตน์ 13570615

เสียงนักศึกษายังจำเป็นอยู่หรือไม่?

เสียงนักศึกษายังจำเป็นอยู่หรือไม่?




นักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ได้มีการออกมาคัดค้านต่อมาตรการ ห้ามไม่ให้ใช้จักรยานยนต์ในวิทยาเขต เพื่อเป็นการรณรงค์มหาวิทยาลัยสีเขียวตามจุดประสงค์ของผู้ดูแลโครงการ



มาตรการห้ามนักศึกษาใช้จักรยานยนต์ในวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี เป็นที่พูดถึงอย่างกว้างขวางในแวดวงนักศึกษา ในช่วงภาคเรียนที่ 2 นี้

นโยบายนี้เริ่มบังคับใช้เมื่อวันที่ 11 มการาคม 2559 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันแรกของการเปิดภาคเรียนที่ 2

โดยมาตรการนี้มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและเป็นการลดมลพิษในอากาศ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว

มีนักศึกษาจำนวนมากออกมาร้องเรียน ตั้งประเด็นโต้เถียง โจมตี ต่อว่า อย่างหนักหน่วง รวมไปถึงการทำภาพล้อเลียนเสียดสี ต่อมาตรการนี้
(โดยสามารถ search บน facebook แล้วติดแฮชแทก #greencampus เพื่อเข้าไปดูเสียงร้องเรียนได้ )







ทำให้นักศึกษาจำนวนมาก ทั้งผู้ที่อาศัยอยู่หอในและทั้งผู้ที่อาศัยอยู่หอนอก ต้องนำจักรยานยนต์มาจอด ณ บริเวณที่เตรียมไว้ให้จอด แล้วจากนั้นไปขึ้นรถราง เพื่อไปเข้าเรียน
ซึ่งนักศึกษาต้องเผชิญกับสภาพแออัดของคนและประสบกับปัญหาจำนนวนรถรางที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการต่อการบริการและปริมาณนักศึกษา

สิ่งที่น่าสงสัยถึงมาตรฐานของมาตรการนี้คือ ในเมื่อไม่ให้นักศึกษาใช้รถยนต์ และจักรยานยนต์ในวิทยาเขต แต่ทำไมบุคลากรยังคงใช้พาหนะเหล่านี้ได้ ซึ่งดูเป็นความเหลื่อมล้ำ แสดงถึงความไม่เท่าเทียมกัน หากจะไม่ให้นักศึกษาใช้ ทำไมจึงไม่ให้บุคลากรใช้ด้วย

การอออกมาตั้งคำถาม เสียงส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า ไม่ได้ต้องการยอกย้อน เพียงแต่อยากให้พิจารณาถึงความเหมาะสม ความเข้ากันได้ของโครงการมหาวิทยาลัยสีเขียว อยากให้พึงตระหนักว่าตัวโครงการนั้นสอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศและสภาพพื้นที่หรือไม่

เพราะไม่เพียงแต่บุคลากรที่จะอ้างว่าหากไม่ให้ใช้พาหนะในการเดินทางเข้าวิทยาเขต จะส่งผลต่อความลำบากในการทำงาน นักศึกษาเองก็ลำบากในการเดินทางเข้ามาเรียนหรือขนของเวลาทำกิจกรรมเช่นกัน



#เอาใจเขามาใส่ใจเรา #สองมาตรฐาน #ความเหลื่อมล้ำ #ความเท่าเทียม #ช่องโหว่ #ความเป็นไปได้

[ปล. ขอขอบคุณความเห็นจากนักศึกษา รวมถึงภาพบางส่วนจาก https://medium.com/@cloetidloa/ ]

กลุ่ม GREEN CAMPUS
ปัญยภัสสร์ พรหมชัยวัฒนา 13570500
วิสุทธิภา เพียวริบุตร 13570575
ศรีสิทธิ์ วงศ์วรจรรย์ 13570580
อนาลา กุลรัตน์ 13570615

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559

มศก.เพชรบุรี - มหาวิทยาลัยสีเขียว

มศก.เพชรบุรี - มหาวิทยาลัยสีเขียว




เมื่อไม่นานมานี้ทางมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ได้ริเริ่มนำนโยบาย Green Campus มาปรับใช้กับทางวิทยาเขต เพื่อให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวเหมือนกับหลายมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ด้วยวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดาวลอย กาญจนมณีเสถียร รองอธิการบดี ประจำวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีเล็งเห็นว่า อยากปรับปรุงพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยให้มีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ เต็มไปด้วยต้นไม้ รื่นรมย์ด้วยธรรมชาติ ซึ่งเอื้อต่อการมีวิถีชีวิตของนักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัย เพื่อให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างราบรื่น



โดยทั้งนี้โครงการมหาวิทยาลัยสีเขียวนี้มาจากผังแม่บทปรับปรุงพัฒนามหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ.2555 - พ.ศ.2575 
(แนบลิ้งค์ : http://www.pitc.su.ac.th/Master%20Plan.pdf)

โดยเกณฑ์สากลที่ใช้ในเป็นตัวประเมินมหาวิทยาลัยสีเขียวนั้น มีด้วยกัน 6 ข้อ ดังนี้
1. ที่ตั้งและโครงสร้างพื้นฐาน (Setting And Infrastructure) 15%
2. การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  (Energy and Climate Change) 21%
3. การจัดการของเสีย (Waste management) 18%
4. การจัดการน้ำ (Water usage) 10%
5. การขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Transportation) 18%
6. ความสามารถในการให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน (Education) 18%
(อ้างอิงจาก UI Green Metric World University Ranking)




ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเองได้ออกมาขอความร่วมมือจากบุคคลากรและนักศึกษาโดยรอบ ให้มีความรับผิดชอบควบคู่กับการสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมและสภาพแวดล้อม

ทางมหาวิทยาลัยได้มีการดำเนินงาน ปรับปรุงในทุก ๆ ด้าน ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น ทางด้านภูมิทัศน์ ระบบสัญจร สาธารณูปโภค และการพัฒนาโครงการต่าง ๆ

เช่น การรณรงค์ห้ามไม่ให้ใช้จักรยานยนต์ในวิทยาเขต การแยกขยะ-ทิ้งให้ถูกถัง การสนับสนุนให้ปั่นจักรยาน-ไบค์เลน การรียูสของที่ยังสามารถนำกลับมาใช้ได้ เป็นต้น

ก็เพื่อให้การพัฒนาไม่หยุดเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพเท่านั้น แต่ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิตของผู้คน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

สำหรับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว



ผลการจัดอันดับล่าสุดเมื่อปี 2015 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัย เป็นสถาบันเพียงแห่งเดียวของไทยที่อยู่ใน 30 อันดับแรกของโลก โดยมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในไทย ที่ติดอันดับ อาทิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (อันดับ 52) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (อันดับ 54) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อันดับ 61) มหาวิทยาลัยมหิดล (อันดับ 71) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อันดับ 73) มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (อันดับ 77) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (อันดับ 78) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (อันดับ 95) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อันดับ 124) เป็นต้น

ทั้งนี้ในปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยได้มีการดำเนินงานในทุก ๆ ภาคส่วน อย่างครอบคลุม ดังเช่น การพัฒนาระบบภูมิทัศน์ พื้นที่สำหรับกิจกรรม การพัฒนาระบบการสัญจร ระบบเส้นทางจักรยาน ระบบทางเดินเท้า ระบบขนส่งมวลชนภายใน ระบบสาธารณูปโภค และการควบคุมอาคารและสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น

โดยโครงการนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ทุกคนมีวิถีชีวิตแบบ Green Lifestyle ทั้งนี้ในบทต่อไปจะมาพูดถึงในส่วนของตัวโครงการที่กำลังเป็นประเด็นในวิทยาเขตกันมากที่สุดในช่วงภาคการศึกษาที่ผ่านมาว่าสิ่งนี้ได้ตอบโจทย์บุคลากรและเข้ากันได้กับพื้นที่หรือไม่ จะเป็นอย่างไร จะเหมาะสม สอดคล้องหรือไม่ โปรดติดตามตอนต่อไป : )



กลุ่ม GREEN CAMPUS
ปัญยภัสสร์ พรหมชัยวัฒนา 13570500
วิสุทธิภา เพียวริบุตร 13570575
ศรีสิทธิ์ วงศ์วรจรรย์ 13570580 
อนาลา กุลรัตน์ 13570615